วันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556


คดีปราสาทเขาพระวิหาร พ.ศ 2505-2556



คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505


      คดีปราสาทพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทยซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 จากปัญหาการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหารเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในปี พ.ศ. 2502คดีนี้ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เมื่อวันที่ 15 มิถุนายนพ.ศ. 2505 ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ท่ามกลางความไม่พอใจของฝ่ายไทย ซึ่งเห็นว่าศาลโลกตัดสินคดีนี้อย่างไม่ยุติธรรม อย่างไรก็ตาม การตัดสินคดีครั้งนี้ไม่ได้แก้ปัญหาเรื่องอาณาเขตทับซ้อนระหว่างไทย-กัมพูชาในบริเวณดังกล่าวให้หมดไป และยังคงเป็นปัญหาเรื้อรังต่อมาจนถึงปัจจุบัน

เบื้องหลัง

หลังจากกัมพูชาเป็นเอกราช ในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2493 ประเทศไทยได้เป็นประเทศแรกที่ได้ให้การรับรอง จนมีการตั้งสำนักผู้แทนทางการทูตขึ้นที่กรุงพนมเปญ และสัมพันธภาพก็เจริญมาด้วยดีโดยตลอด จนกระทั่ง พ.ศ. 2501 เอกอัครราชทูตกัมพูชา ประจำกรุงลอนดอน ซัมซารี ได้เขียนบทความเกี่ยวกับสิทธิเหนือปราสาทเขาพระวิหาร ลงในนิตยสาร "กัมพูชาวันนี้ (le Combodge d'aujourd'hui) " มีเนื้อหาส่วนหนึ่งระบุบว่า "ไทยอ้างสิทธิเหนือวิหารนี้ โดยการใช้กำลังทหารเข้ายึดเอาพระวิหาร-อันเป็นการกระทำแบบฮิตเลอร์"[1] จากนั้นมาวิทยุและหนังสือพิมพ์ของกัมพูชาก็ได้พูดถึงเรื่องสิทธิเหนือปราสาทเขาพระวิหารนี้อยู่เรื่อย ๆ จนเกิดกระแส "ทวงเขาพระวิหารคืนจากไทย"[1] แต่ยังไม่รุนแรงนัก นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ปล้นสะดมทางชายแดนไทย-กัมพูชาเสมอ ๆ ทำให้รัฐบาลไทยในขณะนั้นได้เสนอให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการผสมเพื่อดำเนินการตรวจสอบเส้นเขตแดน แต่ก็ไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลกัมพูชา ทำให้ความสัมพันธ์เริ่มทรุดลงอย่างรวดเร็ว
วันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2501 ประเทศจีนได้ประกาศรับรองกัมพูชา และพระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหนุได้เสด็จไปเยือนปักกิ่ง ซึ่งในสมัยนั้นอยู่ในช่วงระวังการแทรกซึมจากคอมมิวนิสต์ รัฐบาลไทยจึงประกาศภาวะฉุกเฉินในเขตท้องที่จังหวัดตราดจันทบุรีปราจีนบุรีสุรินทร์บุรีรัมย์,ศรีสะเกษ และอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี เหตุการณ์จึงตึงเครียดหนักขึ้น
วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2501 มีการเจรจาเพื่อปรับปรุงความสัมพันธ์ระหว่างไทย-กัมพูชาขึ้นที่กรุงเทพ แต่ไม่สามารถเจรจาตกลงกันได้ วันที่ 7 กันยายน ปีเดียวกัน ประเทศไทยได้เดินขบวนประท้วงประเทศกัมพูชา และอ้างถึงกรรมสิทธิ์ของไทยเหนือเขาพระวิหาร นอกจากนี้ยังมีการโจมตีระหว่างสื่อไทยและกัมพูชากันอยู่เนื่อง ๆ จนกระทั่งวันที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2501 รัฐบาลกัมพูชาได้ตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย และความสัมพันธ์ก็เลวร้ายลงจนไปสู่การฟ้องร้องต่อศาลโลก


รายละเอียดคดี

คดีนี้มีข้อเท็จจริงอยู่ว่า ในช่วงปี พ.ศ. 2447 ถึง พ.ศ. 2451 ประเทศฝรั่งเศสมีฐานะเป็นรัฐผู้อารักขากัมพูชา ได้ทำสัญญากับราชอาณาจักรสยามอยู่หลายฉบับ แต่มีสัญญาอยู่ฉบับหนึ่งที่เป็นต้นเหตุของปัญหานี้ คือ สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 มีความตกลงอยู่ว่า พรมแดนที่เป็นปัญหาให้ถือเอาสันปันน้ำเป็นเกณฑ์ในการแบ่งเขตแดน และให้แต่งตั้งคณะกรรมการปักบันเขตแดน เพื่อได้ทำการสำรวจบริเวณพื้นที่แถบนั้น[2]ต่อมาในปี พ.ศ. 2450 ทางการสยามได้ขอให้ทางฝรั่งเศสทำแผนที่พรมแดน ฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ขึ้นจำนวนหนึ่ง หนึ่งในนั้นเป็นแผนที่ที่ฝรั่งเศสลากเส้นเอาเขาพระวิหาร ซึ่งอยู่ในความครอบครองของราชอาณาจักรสยาม ไปอยู่ในฝั่งเขตแดนกัมพูชาของทางฝรั่งเศสด้วย โดยมิได้ยึดแนวสันปันน้ำเป็นเกณฑ์ (แผนที่นี้ต่อมาเรียกว่า "แผนที่ผนวก 1" (Annex I map) )
กระนั้น สยามไม่ได้คัดค้านแผนที่นั้นภายในเวลาอันสมควร คณะกรรมการฝ่ายไทยไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เลย แม้จะไม่ได้แสดงการยอมรับ แต่ก็ไม่ได้ทำการคัดค้านว่าแผนที่ฉบับที่มีปัญหานั้นไม่ถูกต้อง ท่านเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้นคือ สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ตรัสขอบใจราชทูตฝรั่งเศสผู้นำส่งแผนที่นั้น และผู้ว่าราชการจังหวัดก็มิได้ทำการทักท้วง  ต่อมา มีการประชุมคณะกรรมการที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2452 โดยใช้แผนที่ผนวก 1 นี้เป็นหลัก ก็ไม่มีผู้คัดค้านปี พ.ศ. 2468 มีการจัดทำสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส โดยมีการอ้างอิงถึงเขตแดนดังกล่าว และในการเจรจาสนธิสัญญาระหว่างสยาม-ฝรั่งเศส ณ กรุงวอชิงตัน เมื่อปี พ.ศ. 2490 รัฐบาลไทยไม่ได้ประท้วงประเด็นดังกล่าว[2] นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2473 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้เสด็จไปเขาพระวิหาร โดยมีผู้สำเร็จราชการฝรั่งเศสรับเสด็จในฐานะทรงเยือนจังหวัดหนึ่งของกัมพูชา แม้ในระหว่าง พ.ศ. 2477-2478 มีการสำรวจพบว่ามีความแตกต่างระหว่างเส้นพรมแดนในแผนที่และแนวสันปันน้ำจริง และได้มีการทำแผนที่อื่น ๆ ซึ่งแสดงว่าปราสาทดังกล่าวอยู่ในราชอาณาจักรสยาม แต่สยามยังคงใช้และจัดพิมพ์แผนที่ที่แสดงว่าพระวิหารตั้งอยู่ในกัมพูชาต่อไป เหตุการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศพิจารณาว่า รัฐบาลไทยขณะนั้นได้ยอมรับ (acquiese) ว่า ฝรั่งเศส มีอำนาจอธิปไตยเหนือเขาพระวิหารเป็นเวลายาวนานถึง 50 ปีมาแล้ว ตามหลักกฎหมายระหว่างประเทศ ว่าด้วยหลักกฎหมายปิดปาก (estoppel)
ปี พ.ศ. 2501 หลังจากกัมพูชาได้รับเอกราชจากฝรั่งเศส จึงเริ่มมีข้อขัดแย้งเรื่องเขตแดนรอยต่อระหว่างไทยกับกัมพูชา จนกระทั่งเจ้านโรดมสีหนุนายกรัฐมนตรีกัมพูชาขณะนั้น นำเรื่องขึ้นเสนอสู่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี พ.ศ. 2502 โดยใช้แผนที่ผนวก 1 เป็นหลักฐานสำคัญ ซึ่งแม้เส้นเขตแดนบนแผนที่จะไม่ได้ใช้สันปันน้ำเป็นเกณฑ์ แต่แผนที่ฉบับนี้ไม่เคยถูกคัดค้านจากรัฐบาลสยามและไทยมาก่อน
ดังนั้นในวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2505 ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ จึงได้ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ด้วยคะแนนเสียง 9 ต่อ 3 นอกจากนั้นยังตัดสินด้วยคะแนนเสียง 7 ต่อ 5 ให้ประเทศไทยส่งคืนโบราณวัตถุที่นำออกมาจากปราสาทเขาพระวิหารตั้งแต่ปี พ.ศ. 2497 ซึ่งเป็นปีที่ประเทศไทยได้เข้ายึดครองพื้นที่ดังกล่าว

คณะผู้พิพากษาและตัวแทนทั้งสองฝ่าย


ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ กรุงเฮก ระหว่างการพิจารณาคดีเขาพระวิหาร

ผู้พิพากษา

ผู้พิพากษามีทั้งหมด 15 ท่าน คะแนนเสียง 9 ต่อ 3 ตัดสินว่าปราสาทเขาพระวิหารอยู่ในอาณาเขตภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา และ คะแนนเสียง 7 ต่อ 5 ตัดสินว่า ไทยต้องคืนวัตถุสิ่งประติมากรรม แผ่นศิลา ส่วนปรักหักพังของอนุสาวรีย์รูปหินทราย เครื่องปั้นดินเผาโบราณและปราสาทหรือบริเวณเขาพระวิหารให้แก่กัมพูชา[3]


  • กานเย กวนเยต์ (Garnier-Coignet) : นายทะเบียนศาล
คณะผู้แทนของประเทศกัมพูชา
  • ฯพณฯ ตรวง กัง (Truong Cang) : สมาชิกสภาองคมนตรี เป็นตัวแทน
ทนาย 
  • ฯพณฯ อุค ชุม (Ouk Chhoim) : อัครราชทูตที่ปรึกษาสถานเอกอัครราชทูตกัมพูชาประจำประเทศฝรั่งเศส
  • ดีน แอจิสัน (Dean Acheson) : เนติบัณฑิตประจำศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ สมัยประธาธิบดี ทรูแมน
  • โปล เรอแตร์ (Paul Reuter) : อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปารีส
ที่ปรึกษาทางกฎหมาย  ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ 
  • พันเอก งิน กาเรต (Ngin Karet) : อธิบดีกรมแผนที่ แห่งกองทัพกัมพูชา
เลขาธิการคณะผู้แทน 
  • ชาญ ยูรัน (Chan Youran)
รองเลขาธิการคณะผู้แทน 
  • เขม สงวน (Chem Snguon)


คณะผู้แทนของประเทศไทย


คณะผู้แทนฝ่ายไทย ในคดีเขาพระวิหาร

คณะผู้แทนฝ่ายไทย


ทนาย 
  • อังรี โรแลง (Henry Rolin) : ศาสตราจารย์กิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยบรัสเซลส์ และทนายความประจำศาลอุทธรณ์ กรุงบรัสเซลส์
  • เซอร์ แฟรงก์ ซอสคีส (Sir Frank Soskice) : อดีตแอททอร์นี เยเนราล ในคณะรัฐบาลอังกฤษ
  • เจมส์ เนวินส์ ไฮด์ (James Nevins Hyde) : เนติบัณฑิตแห่งรัฐนิวยอร์ก และทนายความประจำศาลสูงสุดแห่งสหรัฐอเมริกา
  • มาร์เซล สลูสนี (Marcel Slusny) : อาจารย์มหาวิทยาลัยบรัสเซลส์ และทนายความประจำศาลอุทธรณ์ กรุงบรัสเซลส์
  • เจ.จี. เลอ เคนส์ (J. G. Le Quesne) : เนติบัณฑิต
ที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ 
  • สุข เปรุนาวิน: รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
  • จินดา ณ สงขลา: รองเลขาธิการ ก.พ.
  • พันโท พูนพล อาสนจินดา: อาจารย์โรงเรียนแผนที่ กรมแผนที่ กระทรวงกลาโหม
ที่ปรึกษาทางกฎหมาย 
  • จาพิกรณ์ เศรษฐบุตร: หัวหน้ากองกฎหมาย กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงต่างประเทศ
  • เดวิด เอส ดาวนส์ (David S. Downs) : ทนายความประจำศาลสูง ประเทศอังกฤษ
ระหว่างการพิพากษา
  • ...เป็นที่ทราบกันทั่วไปในขณะนั้นว่าการประท้วงมีแต่จะเป็นทางให้ฝรั่งเศสยกเป็นข้อแก้ตัวที่จะยึดดินแดนมากขึ้นเหตุการณ์ต่าง ๆ ยังคงเป็นอยู่เหมือนเดิม ตั้งแต่ฝรั่งเศสได้นำเรือรบเข้ามาในแม่น้ำเจ้าพระยา และยึดเมืองจันทบุรี...
    — หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาในสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ
หลังการพิพากษา
  • ...ไม่เคยเห็นการวินิจฉัยกฎหมายระหว่างประเทศที่หละหลวม เช่นคำพิพากษานี้...
    — ดร.ถนัด คอมันตร์ รมต.ต่างประเทศในสมัยนั้น
  • ...คำพิพากษาศาลโลกผิดพลาดอย่างยิ่ง...แม้อีกร้อยสองร้อยปี คำพิพากษาของศาลโลกครั้งนี้จะไม่ทำให้นักกฎหมายคนใดในอนาคตเห็นด้วยเลย...
    — ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ทนายฝ่ายไทย
  • ...ด้วยเลือดและน้ำตา...สักวันหนึ่งเราจะต้องเอาเขาพระวิหารคืนมาให้จงได้...
    — จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรีไทยในสมัยนั้น
  • ...เราคืนให้เฉพาะพื้นที่รองรับตัวปราสาทเขาพระวิหารเท่านั้น ส่วนเขมรจะขึ้นหรือเข้ามาทางไหนเราไม่รับรู้ เป็นเรื่องของเขมรเอง...
    — พลเอก ถนอม กิตติขจร รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของไทยในสมัยนั้น[3]
  • ...มันไม่ใช่เป็นเรื่องให้ไม่ให้ เป็นเรื่องปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของศาล...
    — พลเอก ประภาส จารุเสถียร รมต.มหาดไทยในสมัยนั้น
ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช นักกฎหมายชาวไทย ตั้งข้อสังเกตว่าการตัดสินคดีในศาลโลก ในคดีทำนองเดียวกันนี้ ทั้งก่อนหน้าและหลังคดีพระวิหาร มีเพียงคดีนี้เพียงคดีเดียวที่ผู้พิพากษาให้ความสำคัญกับแผนที่เหนือสนธิสัญญา[6] ในคดีอื่นศาลจะให้น้ำหนักกับแผนที่ก็ต่อเมื่อเป็นแผนที่แนบท้ายสนธิสัญญา หรือเป็นแผนที่ที่ทำโดยฝ่ายที่เสียสิทธิ์ จะไม่ให้ความสำคัญกับแผนที่ฝ่ายเดียว ซึ่งถือเป็นพยานบอกเล่า[6]ผู้พิพากษาที่ตัดสินให้ไทยชนะ[แก้]
  • ...สันปันน้ำไม่ใช่นามธรรมที่คิดขึ้นด้วยสติปัญญา สันปันน้ำเป็นผลอันเกิดขึ้นจากลักษณะของพื้นภูมิประเทศ และย่อมเป็นลักษณะของภูมิประเทศอยู่เสมอ สันเขา แนวชะง่อนผา หรือส่วนสูงของพื้นดินเหล่านี้ย่อมจะประกอบกันเป็นเส้นสันปันน้ำธรรมชาติ...
    — ลูซิโอ มอเรโน กินตานา ผู้พิพากษาชาวอาร์เจนตินา
  • ...ข้าพเจ้าคิดว่าฝรั่งเศสได้จัดทำแผนที่ขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ของตนเองเป็นสำคัญ
    — เซอร์เพอร์ซี สเปนเดอร์ ผู้พิพากษาชาวออสเตรเลีย
  • ...การยอมรับโดยการนิ่งเฉยหลักกฎหมายโรมันที่ว่า "ใครที่นิ่งจะถูกถือว่ายินยอม ถ้าเขาสามารถพูดได้" นั้น ตามความเห็นของข้าพเจ้านำมาใช้ในคดีนี้มิได้
    — เซอร์ เวลลิงตันคู ผู้พิพากษาและอดีตนายกรัฐมนตรีชาวจีน
ผู้พิพากษาที่ตัดสินให้กัมพูชาชนะ
  • ...เห็นได้ชัดเจนว่าอารยธรรมตัวปราสาทเป็นของกัมพูชา แม้กระทั่งแผนที่ของกัมพูชาอีกด้วย
    — โบดาน วินิอาร์สกิ ผู้ประธานการพิจารณาคดีเขาพระวิหารชาวโปแลนด์
การตีความคำพิพากษาดูบทความหลักที่ กรณีการตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2554 กัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลโลกเพื่อขอให้ศาลตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2505 และในวันเดียวกันประเทศกัมพูชาได้ยื่นคำร้องต่อศาลโลกเพื่อขอให้ศาลระบุมาตรการคุ้มครองชั่วคราวเพื่อรักษาสิทธิของกัมพูชาอย่างเร่งด่วน [7] ปัจจุบันคดีดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างกระบวนพิจารณาของศาลโลก



  •     วันนี้ (11 พ.ย.) เมื่อเวลา 14.00 น.มีการอ่านคำพิพากษาการตีความคดีปราสาทพระวิหาร โดยศาลโลก ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีการถ่ายทอดสดผ่านทางสถานีโทรทัศน์เอ็นบีที และโมเดิร์นไนน์ทีวี
        
           ทั้งนี้ ในช่วงแรกผู้พิพากษาระบุถึงข้อพิพาทใน 3 แง่ อันเป็นเหตุผลให้ศาลต้องตีความคำพิพากษาในปี 2505 ตามคำร้องขอของกัมพูชา กล่าวคือ


คดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. 2556


  •  1.คำพิพากษาในปี 2505 (ค.ศ.1962) มีผลผูกพันถึงเขตแดนของสองประเทศหรือไม่
      2.ความหมายหรือขอบเขตของบทปฏิบัติการในคำพิพากษาปี 2505 ที่ระบุให้ปราสาทเป็นของกัมพูชา
      3.พันธะผูกพันในการถอนกำลังของฝ่ายไทย



        
           ทั้งนี้เมื่อคำนึงถึงข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว ศาลจึงเห็นว่ามีความจำเป็นต้องตีความบทปฏิบัติการ ศาลจึงมีเขตอำนาจในการพิจารณาคำพิพากษาปี 2505

      ทั้งนี้เมื่อคำนึงถึงข้อพิพาทดังกล่าวแล้ว ศาลจึงเห็นว่ามีความจำเป็นต้องตีความบทปฏิบัติการ ศาลจึงมีเขตอำนาจในการพิจารณาคำพิพากษาปี 2505 ทั้งปฏิเสธการที่ประเทศไทยกล่าวอ้างว่าศาลไม่มีอำนาจในการตีความคำพิพากษาเพิ่มเติม
        
           ศาลโลกระบุด้วยว่า การยอมรับแผนที่ในภาคผนวกหนึ่งของทั้งสองประเทศ ทำให้แผนที่เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญา การตีความจึงต้องเป็นไปตามนั้น ทั้งนี้ความเข้าใจเกี่ยวกับบริเวณใกล้เคียงของปราสาทพระวิหาร ศาลเห็นว่า เขตแดนของกัมพูชาในทางเหนือนั้น ไม่เกินเส้นแบ่งของภาคผนวก 1 ดังนั้น ศาลจึงพิจารณาพื้นที่เห็นว่า พื้นที่ตามข้อบทปฏิบัติที่สองจึงครอบคลุมถึงชะง่อนผา แทนที่จะจำกัดเพียงพื้นที่ตามมติคณะรัฐมนตรีของไทยในปี 2505 แต่ไม่รวมถึงภูมะเขือ
        
           ศาลอ้างว่าปราสาทพระวิหารได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว โดยทั้งสองชาติมีพันธะกรณีที่จะต้องพูดคุยเพื่อปกป้องมรดกโลกชิ้นนี้ภายใต้การดูแลของยูเนสโก เนื่องจากถูกขึ้นทะเบียนแล้ว และจะต้องสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางประเทศกัมพูชา และประเทศไทยมีพันธะที่จะต้องถอนกำลังทหารที่อยู่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร ศาลจึงมีมติเป็นเอกฉันท์ว่า การขอตีความนั้นศาลมีอำนาจ
        
           ขณะที่ก็มติเอกฉันท์ว่ากัมพูชามีอธิปไตยในดินแดนทั้งหมด ตามที่กำหนดไว้ในวรรค 98 ของคำพิพากษานี้ และไทยมีพันธะต้องถอนกำลังทั้งหมดทั้งทหาร ตำรวจและเจ้าหน้าที่ทั้งหมด พร้อมทั้งอ่านถึงบทปฏิบัติการของคำพิพากษาเป็นภาษาฝรั่งเศส

    นอกจากนั้น ยังชี้ให้ศาลเห็นด้วยว่า แผนที่ซึ่งฝ่ายกัมพูชาใช้ในคดีเดิม เมื่อปี 2505 กับแผนที่ซึ่งนำมาใช้อ้างว่าเป็นแผนที่ในภาคผนวก 1 ในการตีความครั้งนี้ เป็นแผนที่คนละแผนที่กัน เป็นการเลือกหยิบเอามาใช้ตามอำเภอใจ
    ความแตกต่างระหว่างแผนที่เดิมของฝ่ายกัมพูชากับการกำหนดขอบเขตพื้นที่ "ใกล้เคียงปราสาท" ของไทยนั้น แตกต่างกัน "เพียงไม่กี่เมตร" ตามความเห็นของฝ่ายกัมพูชาเอง แต่แผนที่ภาคผนวก 1 ที่นำมาอ้างใหม่ในศาลวันนี้ กลับมีพื้นที่ที่แตกต่างกันออกไปมากถึง 4.5 ตารางกิโลเมตร
    ด้วยเหตุผลตามข้อโต้แย้งดังกล่าวนี้ ฝ่ายไทยขอให้ศาลพิพากษาและชี้ขาดว่า
    1.คำร้องขอให้ศาลตีความของฝ่ายกัมพูชานั้น ไม่เข้าเงื่อนไขที่ระบุไว้ และด้วยเหตุนี้ศาลจึงไม่มีอำนาจในการรับพิจารณาคำร้องดังกล่าว และไม่มีอำนาจที่จะตอบคำร้องดังกล่าวนั้น
    2.ศาลไม่มีเหตุผลที่จะให้เป็นไปตามคำร้องขอของฝ่ายกัมพูชา และไม่มีเหตุผลที่จะตีความคำพิพากษาเดิมเมื่อปี 2505
    3.ขอให้ศาลชี้ขาดอย่างเป็นทางการว่า คำพิพากษาเดิมในปี 2505 นั้น ไม่ได้เป็นการวินิจฉัยเส้นเขตแดนระหว่างราชอาณาจักรไทยและกัมพูชา โดยมีผลผูกพันและไม่ได้กำหนดขอบเขตของบริเวณใกล้เคียงปราสาทเอาไว้ในคำพิพากษาดังกล่าว
    ส่วนศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ที่เป็นศาลสูงสุดของสหประชาชาติ จะพิพากษาคดีนี้ว่าอย่างไร

    คนไทยทั้งประเทศต่างเฝ้าติดตามกันในวันที่ 11 พฤศจิกายนนี้นั่นเอง...